ข้อมูลทั่วไปศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง อ.สามพราน
สถานที่ตั้ง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 37/1 หมู่ที่ 5 ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม
กลุ่มเกษตรชีวภาพตำบลบางช้าง
ประวัติความเป็นมา
บ้านหัวอ่าว มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ มีน้ำท่าสมบูรณ์ เพราะมี "คลองจินดา" และ "คลองบางช้าง" ไหลผ่าน จึงทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิดได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันชาวบ้านมีรายได้หลักจากการทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ และสวนผลไม้ ประเภท ฝรั่ง ชมพู่ ลำไย มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ ในอดีตชาวบ้านมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง ดินเสื่อมสภาพ การทำงานสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานานๆ ทำให้ร่างกายสะสมสารเคมีเกิดอาการเจ็บป่วยในที่สุด
ปี พ.ศ. 2547 กลุ่มสตรีและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนบ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง ได้ร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศทางธรรมชาติให้กับสังคม และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี และเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยเลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และหันมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ สารชีวภาพแทน ทำให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น ปัจจุบันสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อกลุ่ม "เครือข่ายเกษตรอินทรีย์กลุ่มบางช้าง" พวกเขาปลูกพืชผักไม้ผลโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งผลผลิต ปล่อยให้พืชผักผลไม้เติบโตตามธรรมชาติ จึงมีรสชาติอร่อย ปลอดภัยต่อการบริโภค ขายดิบขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสามพรานได้ถูกขยายผล และต่อยอดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่เข้ามาพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอินทรีย์ภายใต้ชื่อ โครงการ "สามพรานโมเดล" โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิตผักผลไม้อินทรีย์ พร้อมรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำผลผลิตอินทรีย์และผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายตรงถึงมือผู้ซื้อ ที่ "ตลาดสุขใจ" สวนสามพราน โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงทางอาชีพและมีรายได้มากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ว่า ในอดีตหมู่บ้านนี้เป็นคลองมีน้ำไหลผ่าน และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะช้างป่าโขลงใหญ่ได้ลุยป่าและเดินเหยียบย่ำเพื่อหาอาหารกินในพื้นที่แห่งนี้เป็นประจำ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเวิ้งกว้างใหญ่ ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า "บ้านหัวอ่าว" ขณะเดียวกันการเดินทางไปมาของช้างป่าก็ทำให้เกิดเป็นลำคลอง จึงถูกเรียกขานว่า "คลองบางช้าง" จนถึงทุกวันนี้
บ้านหัวอ่าว มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ มีน้ำท่าสมบูรณ์ เพราะมี "คลองจินดา" และ "คลองบางช้าง" ไหลผ่าน จึงทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิดได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันชาวบ้านมีรายได้หลักจากการทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ และสวนผลไม้ ประเภท ฝรั่ง ชมพู่ ลำไย มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ ในอดีตชาวบ้านมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง ดินเสื่อมสภาพ การทำงานสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานานๆ ทำให้ร่างกายสะสมสารเคมีเกิดอาการเจ็บป่วยในที่สุด
ปี พ.ศ. 2547 กลุ่มสตรีและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนบ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง ได้ร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศทางธรรมชาติให้กับสังคม และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี และเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยเลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และหันมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ สารชีวภาพแทน ทำให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น ปัจจุบันสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อกลุ่ม "เครือข่ายเกษตรอินทรีย์กลุ่มบางช้าง" พวกเขาปลูกพืชผักไม้ผลโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งผลผลิต ปล่อยให้พืชผักผลไม้เติบโตตามธรรมชาติ จึงมีรสชาติอร่อย ปลอดภัยต่อการบริโภค ขายดิบขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสามพรานได้ถูกขยายผล และต่อยอดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่เข้ามาพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอินทรีย์ภายใต้ชื่อ โครงการ "สามพรานโมเดล" โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิตผักผลไม้อินทรีย์ พร้อมรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำผลผลิตอินทรีย์และผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายตรงถึงมือผู้ซื้อ ที่ "ตลาดสุขใจ" สวนสามพราน โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงทางอาชีพและมีรายได้มากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ว่า ในอดีตหมู่บ้านนี้เป็นคลองมีน้ำไหลผ่าน และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะช้างป่าโขลงใหญ่ได้ลุยป่าและเดินเหยียบย่ำเพื่อหาอาหารกินในพื้นที่แห่งนี้เป็นประจำ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเวิ้งกว้างใหญ่ ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า "บ้านหัวอ่าว" ขณะเดียวกันการเดินทางไปมาของช้างป่าก็ทำให้เกิดเป็นลำคลอง จึงถูกเรียกขานว่า "คลองบางช้าง" จนถึงทุกวันนี้
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว |
สอบถามข้อมูลทั่วไป |
สอบถามข้อมูลทั่วไป |
วันแรกของการลงพื้นที่ |
วันแรกของการลงพื้นที่ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น