วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว (ลงชุมชนครั้งที่5)

 

ฐานการเลี้ยงใส้เดือน

  

วิธีการเลี้ยงไส้เดือน

1. เตรียมวงบ่อซีเมนต์ กะละมัง กระบะไม้ หรือก้อนอิฐบล๊อก วางเรียงกันโดยใช้พลาสติกรองพื้นในที่ที่ค่อนข้างร่มโดยอาจมีหลังคากั้นจะกั้นด้วยซาแลนหรือวัสดุอื่น ๆ

2. ขั้นนี้เรียกว่าขั้นตอนของการหมักที่อยู่ของไส้เดือน (Bedding) ที่อยู่ของไส้เดือนชนิดต่างๆ มาจากไหนบ้าง
   - กระดาษพิมพ์ฉีกเป็นชิ้น หรือ กระดาษพิมพ์ย่อยด้วยเครื่องย่อยกระดาษ
   - ขุยมะพร้าว
   - ขี้เลื่อยจากไม้ต่างๆ
   - จากใบไม้เก่า

ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

1.ด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก ลดการฝั่งกลบขยะไส้เดือนช่วยพลิกกลับดิน โดย    การกินดินทำให้แร่ธาตุในดินผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ช่วยทำลายชั้นดิน
2.ด้านการเกษตร ผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนและน้ำสกัดชีวภาพใช้ในการเกษตรอินทรีย์
ช่วยให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ที่รวมถึงซากพืชสัตว์และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ผลิตปุ๋ยหมัก (vermicomposting) และน้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือน (worm tea)
3.ส่งเสริมการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้
ไปอยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้
4.ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินเลี้ยงเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม โดยการเปลี่ยนของอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก
5.ใช้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ผลิตไส้เดือนเป็นอาหารโปรตีน (vermiculture) เนื่องจากไส้เดือนมีโปรตีนสูงอาจใช้เลี้ยงปลา เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเหยื่อตกปลา ด้านอาหารสัตว์ ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งในรูปไส้เดือนเป็นและผง  หรือไส้เดือนสดสำหรับเลี้ยงเป็ด หรือกบก็ได้
6.ด้านการแพทย์ รักษาโรคข้ออักเสบ แผลอักเสบ โรคผิวหนัง และสลายลิ่มเลือดในหลอดเลือด

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว (ลงชุมชนครั้งที่4)


ธนาคารต้นไม้สร้างงาน 


สร้างอาชีพ ที่บ้านหัวอ่าว
ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร อำเภอสามพราน ฯลฯ ได้หมุนเวียนเข้ามาใช้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพวิชาต่างๆ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านการเกษตรของชุมชน เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน (ศูนย์ต่อยอด) เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนของ กศน. อำเภอสามพราน และเป็นศูนย์ฝึกอบรมกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน


โครงการธนาคารต้นไม้" คือความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอสามพราน "คุณประหยัด ปานเจริญ" เป็นหัวหน้าโครงการและเป็นรองประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตำบลบางช้าง ได้กล่าวถึงที่มาของโครงการธนาคารต้นไม้ว่า เมื่อปี 2554 เกิดปัญหาอุทกภัยเป็นระยะเวลานานในพื้นที่อำเภอสามพราน ทำให้ภาคเกษตรได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ผลท้องถิ่นต่างล้มตายเป็นจํานวนมาก จึงได้เริ่มนำโฟมมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเพาะต้นกล้าไม้ผลต่างๆ เพื่อเตรียมลงดิน เมื่อระดับน้ำลดลง

แต่ชาวบ้านขาดแคลนทุนทรัพย์สำหรับลงทุนขยายพันธุ์ไม้ จึงรวมกลุ่มสมัครเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายกองทุนพัฒนากองทุนสตรี และเขียนโครงการเพื่อขอรับเงินทุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยได้รับการอนุมัติโครงการ ในปี 2556 จำนวน 200,000 บาท ในโครงการธนาคารต้นไม้ เพื่อนำเงินที่ได้มาต่อยอดสร้างโรงเรือนและเพาะพันธุ์กล้าไม้ พร้อมหาพันธุ์ไม้พื้นเมืองมาปลูก เพื่อสร้างจิตสํานึกที่ดีร่วมกันในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น

ธนาคารต้นไม้มีการบริหารจัดเก็บรายได้โดยการแจกจ่ายและจำหน่ายพันธุ์ไม้ให้กับสมาชิกในโครงการ โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อสมาชิกได้รับต้นกล้าพันธุ์ไม้ไปแล้ว จำนวน 1 กิ่ง เมื่อขยายพันธุ์ได้แล้วต้องนำมาคืนที่ธนาคารต้นไม้ 2 กิ่ง เพื่อจำหน่ายและใช้ขยายพันธุ์ส่งต่อให้กับสมาชิกรายอื่นๆ นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถนำกิ่งพันธุ์ไม้มาฝากขายที่ธนาคารต้นไม้ โดยทางธนาคารจะหักส่วนแบ่ง 10% ของราคาขายกิ่งพันธุ์ เพื่อเป็นทุนสำรองของธนาคารต้นไม้ต่อไป 



ที่เก็บต้นกล้า
จุดเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้








รูปกลุ่ม

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว (ลงชุมชนครั้งที่3)

ระบบเกษตรผสมผสาน                                                                                                                         เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์ต่างๅอยู่พื้นที่เดียวกัน  มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจรโดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้  ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน  พอมีเหลือจึงขาย  ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัวรวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย  หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ  การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี  มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาต้นทุน

ระบบดิน ระยะห่างการปลูกของต้นมะม่วง 4เมตรต่อต้น ระยะห่างของต้นฝรั่ง1เมตร ต้นฝรั่งต้องแต่งกิ่งตลอดต้นมะม่วงไม่ต้องแต่งกิ่ง ต้นฝรั่งพันธ์กิมจู ปลูกในพื้นที่ดินเหนียว

ระบบน้ำการปลูกในพื้นที่ดินเหนียวจำเป็นต้องยกล่องถ้าปลูกในพื้นที่ดินร่วนไม่ต้องยกล่องเพื่อเวลาฝนตกจะได้เป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้ช่วงแล้ง

การเก็บผลผลิตและรายหลักคือ ฝรั่ง เพราะฝรั่งออกทั้งปี รายได้รองคือ มะม่วง เพราะมะม่วงออกเป็นฤดูกาล การดูแลฝรั่งตั้งแต่เริ่ม 6เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มห่อฝรั่งได้ ต้องห่อลูกที่มีขนาดเท่านิ้วโป้งเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นมะม่วงต้องใช้เวลา 2ปี 

ตู้เย็นข้างรั้ว ตู้ยาข้างบ้าน 
จะปลูกพืชสมุนไพรทั่วไปไว้ข้างแปลงเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือน และจะปลูกต้นมะพร้าวไว้ข้างแปลง เพื่อกันยาฆ่าแมลงที่ลอยมาจากแปลงอื่น




เกษตรผสมผสานต้นฝรั่งกับต้นมะม่วง
   
คุณลุงให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน
ผลผลิตของฝรั่ง
                   

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหัวอ่าว (ลงชุมชนครั้งที่2)

ความเป็นมา / ข้อมูลพื้นที่ภาพรวม

ด้วยสมาชิกกลุ่มสตรีและกลุ่มการเกษตรทำสวนผลไม้ตำบลบางช้่าง มีความคิดริเริ่มที่จะลดต้นทุนในการผลิตทางการเกษตร พร้อมทั้งรณรงค์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในหมู่บ้าน / ตำบล สามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนแบบยั่งยืน จึงวได้หันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรชีวภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2546 จากเวทีแห่งนี้ทำให้มองเห็นถึงแนวทางที่จะทำให้ความคิด / ความฝัน  ที่จะประสบผลสำเร็จในเรื่องเกษตรชีวภาพเป็นจริงได้
       จากการที่ได้มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับองค์กรภาคีต่างๆ ทำให้มีการประชุมประชาคมตำบล เพื่อหาแนวทางร่วมขึ้นมา ทำให้การเกษตรหันมาสนใจเกี่ยวกับเกษตรชีวภาพเป็นอันมาก จึงได้จัดตั้งกลุ่มอย่างการมีรูปธรรมในปลายปี พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อกลุ่ม "กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพตำบลบางช้าง" มีนางประหยัด ปานเจริญ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 47 คน ที่ทำการตั้งหมู่บ้านเลขที่37/1 หมู่5ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และได้จดทะเบียนกลุ่มอย่างถูกต้องมีการประสานงานจากหน่วยต่างๆ ในการทำปุ๋ยชีวภาพให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่จะนำไปสู่กระบวนการพึ่งตนเองปบบยั่งยืนต่อไป       ในส่วนการเกษตรของตำบลบางช้าง ได้เข้ารับการอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพมาบ้างแล้ว โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต. โดยมีวัตถุประสงค์คือ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดอันตรายจากเคมี การลดต้นทุนการผลิต แต่ไม่ได้รับการสนใจการเกษตรเท่าที่ควร มีการเริ่มหลายครั้งต่อหลายครั้งแล้วก็เงียบหาย เกษตรกรต้องหันมาใช้สารคมีอีก ราคาของสารเคมีนับวันมีแต่ราคาสูงขึ้น เมื่อเทียบการปริมาณการผลิตแล้ว บางครั้งถึงกับขาดทุน ทำให้ทราบปัญหาเกษตรกรที่ประสบอยู่คือ ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ แต่ไม่มีใครพูดถึงชีวภาพอีกเลย       จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ใช้สารเคมีอยู่คือ ต้นทุนสูง ผลิดต่ำ ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ พวกเกษตรกรส่วนน้อยที่จะคิดใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพราะเห็นว่าประโยชน์นั้นมากมาย 

ตู้เย็นข้างรั้วตู้ยาข้างบ้าน

ผักสวนครัว